Workshop

การประชุมเชิงปฎิบัติการ


⠀⠀⠀⠀⠀โครงการวิจัยระบบอาหารที่ยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนและความตื่นตระหนก หรือ Reimagining Food Systems- Coping with Uncertainty and Shocks (REFOCUS) จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบอาหาร ได้เห็นภาพสะท้อนของระบบอาหารร่วมกันผ่านเครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร (Food System Diagnostic and dialogue tools)

⠀⠀⠀⠀⠀เครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร (Food System Diagnostic and dialogue tools) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถระบุองค์ประกอบของระบบอาหารและระบุความเชื่อมโยงระหว่างกันได้ ระบุจุดที่เสี่ยง ระดับความรุนแรง ตลอดจนระบุผู้ที่น่าจะได้รับผลกระทบ ระดับของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบอาหาร รวมถึงประเมินความยืดหยุ่นขององค์ประกอบหลักของระบบอาหาร เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันหาแนวทางในการลดความเสี่ยง และเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบอาหาร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


⠀⠀⠀⠀⠀ซึ่งเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 เกณฑ์ ได้แก่

⠀⠀⠀⠀1. Food System Mapping (M1) การเชื่อมโยงผู้ใช้งานระบบอาหาร และระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนต่างของระบบอาหาร กรณีตัวอย่างปลาทับทิม กระบวนการผลิตมาจากหลายแหล่ง เช่น ฟาร์มปลา บ่อเลี้ยงปลาในชุมชน หรือปลาที่เลี้ยงในเขื่อน เป็นต้น ถูกส่งไปที่ตลาดโดยใคร และถึงมือผู้บริโภคได้อย่างไร

⠀⠀⠀⠀2. Food System Weakness and Impact (M2) ระบุจุดอ่อนของระบบอาหาร ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น น้ำมันแพงขึ้น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ราคาปลาแพงขึ้น ผู้บริโภคได้รับผลกระทบโดยตรง

Template เครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร ส่วนที่ 1 และ 2
ตัวอย่างการใช้เครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร ส่วนที่ 1 และ 2 ในหัวข้อ “ไข่ไก่”

⠀⠀⠀⠀3. Self Assessment Scorecard (M3) เป็นการให้คะแนนความคิดเห็นที่มีต่อระบบอาหารในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอน 4 ประเด็น คือ ความหลากหลาย (Diversity) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในที่เกี่ยวข้องกับแต่ละส่วนของระบบอาหาร ถ้าหากมีมากให้ระบุคะแนน 5 ถ้าหากมีน้อยให้ระบุคะแนน 1 หรือในกรณีของอิทธิพลเหนือการตัดสินใจ ผู้เข้าร่วมประชุมเห็นว่าสามารถออกความเห็นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับเปลี่ยนการตัดสินใจได้หรือไม่ หากทำไม่ได้เลยให้คะแนน 1 หาก สามารถทำได้เสมอให้คะแนน 5 เป็นต้น


Template เครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร ส่วนที่ 3

ตัวอย่างการใช้เครื่องมือวินิจฉัยและเสวนาระบบอาหาร ส่วนที่ 3 ในหัวข้อ “ไข่ไก่”

⠀⠀⠀⠀4. Visioning Exercise (M4) เป็นกระบวนการหารือเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ (Visioning) เพื่อให้เกิดความชัดเจน มุ่งเน้นในพันธกิจ และผลที่คาดหวังจากวิสัยทัศน์ร่วม เช่น การสร้างระบบอาหารที่เข้มแข็งของท้องถิ่น ลดการนำเข้าอาหารจากนอกพื้นที่ การสร้างระบบอาหารเพื่อเอื้อต่อรูปแบบเชิงวัฒนธรรม เช่น อาหารพื้นที่ถิ่นที่ไม่สามารถหาได้ที่อื่นอาจจะเป็นผักบางชนิด เนื้อปลา แมลง หรือเห็ด เป็นต้น การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบอาหารและเศรษฐกิจในพื้น หรือ การสร้างระบบอาหารปลอดภัย ปลอดการใช้สารเคมีให้กับคนในพื้นที่ เป็นต้น

⠀⠀⠀⠀5. Food System redesign (M5) การร่วมกันออกแบบระบบอาหารใหม่ ให้ครบทั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ได้ระบบอาหารตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งเอาไว้


⠀⠀⠀⠀เครื่องมือในส่วนที่ 1 – 3 เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการทำความเข้าใจระบบอาหาร ในขณะที่เครื่องมือที่ 4 และ 5 เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการงานโดยมีข้อแนะนำในการเลือกใช้เครื่องมือดังนี้

⠀⠀⠀⠀●⠀⠀ดาวน์โหลด คู่มือ REFOCUS

⠀⠀⠀⠀●⠀⠀ดาวน์โหลด Template เครื่องมือ REFOCUS : Module 1-2 , Module 3

⠀⠀⠀⠀●⠀⠀กิจกรรม Online Workshop ผ่าน Miro.com

⠀⠀⠀⠀สำหรับผู้ที่ดาวน์โหลดเครื่องมือ Template REFOCUS ไปใช้ ทีมงานขอความกรุณากรอกแบบสอบถาม เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับนำไปพัฒนาต่อยอดเครื่องมือให้เป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจในระบบอาหารต่อไป แบบสอบถาม

⠀⠀⠀⠀จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการวิจัยระบบอาหารที่ยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนและความตื่นตระหนก หรือ Reimagining Food Systems- Coping with Uncertainty and Shocks (REFOCUS) สามารถสรุปเป็นภาพได้ ดังนี้


การประชุมเชิงปฏิบัติการ วันที่ 22 ธันวาคม 2564 หัวข้อ “ข้าวผัดกะเพราหมูไข่ดาวกาแฟเย็น”


การประชุมเชิงปฎิบัติการ วันที่ 6 มกราคม 2565 หัวข้อ “ข้าว”


การประชุมเชิงปฎิบัติการ วันที่ 8 มีนาคม 2565 หัวข้อ “ไข่ไก่”